------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------------
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (Chulalongkorn University)
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตั้งอยู่ที่เขตปทุมวัน กรุงเทพมหานคร ถือกำเนิดจาก "โรงเรียนสำหรับฝึกหัดวิชาข้าราชการฝ่ายพลเรือน" ที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งขึ้นภายในพระบรมมหาราชวัง เมื่อปี พ.ศ. 2442 พร้อมทั้งพระราชทานพระบรมราชานุญาตให้อัญเชิญ "พระเกี้ยว" มาเป็นเครื่องหมายประจำโรงเรียน การดำเนินงานของโรงเรียนมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องเป็นลำดับ จนกระทั่ง เมื่อวันที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2459 (ขณะนั้นนับวันที่ 1 เมษายน เป็นวันขึ้นปีใหม่ นับอย่างใหม่ต้องเข้าปี พ.ศ. 2460) พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงประดิษฐานขึ้นเป็นมหาวิทยาลัย และพระราชทานนามว่า "จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย" เพื่อเป็นพระบรมราชานุสาวรีย์เฉลิมพระเกียรติแห่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระบรมชนกนาถของพระองค์ นับตั้งแต่ พ.ศ. 2460 ถึงปัจจุบัน
จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอับดับให้เป็นหนึ่งในมหาวิทยาลัยชั้นนำของประเทศทั้งในสาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ สาขาเวชชีวศาสตร์ สาขาวิทยาศาสตร์ และสาขาสังคมศาสตร์ และได้รับการรับรองมาตรฐานการศึกษาในระดับดีมากจากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษา อีกทั้งยังเป็น 1 ใน 9 มหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติอีกด้วย นอกจากนี้ นักเรียนที่ทำคะแนนรวมได้สูงสุดของคณะต่างๆ
จากการคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาในสถาบันอุดมศึกษาด้วยระบบกลางและระบบรับตรงของกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย พบว่า ส่วนใหญ่เลือกเข้าศึกษาต่อในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
ปัจจุบัน จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยเปิดการเรียนการสอนใน 19 คณะ บัณฑิตวิทยาลัย วิทยาลัย และสถาบันต่างๆ รวมทั้งสิ้น 540 สาขาวิชา หลักสูตรนานาชาติและภาษาอังกฤษ รวมทั้งสิ้น 85 สาขาวิชา นอกจากนี้ ยังได้จัดตั้งสถาบันวิจัยขึ้นภายในมหาวิทยาลัยอีกหลายแห่งเพื่อดำเนินการวิจัยในศาสตร์ต่างๆ ด้วย
Soucre : wikipedia.org
- พื้นสำรด "สีเหลือง" สำหรับฉลองพระองค์ครุยพระบรมราชูปถัมภก เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบรมราชจักรีวงศ์ - พื้นสำรด "สีดำ" สำหรับระดับบัณฑิตและมหาบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันเสาร์ - พื้นสำรด "สีแดงชาด" สำหรับระดับดุษฎีบัณฑิต เพื่อเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งมีพระบรมราชสมภพในวันอังคาร
Soucre : wikipedia.org
การศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดทำการเรียนการสอนครอบคลุมทั้งสาขาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์สุขภาพ สังคมศาสตร์ และมนุษยศาสตร์ ในปีการศึกษา 2553 เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรปกติทั้งหมด 540 สาขาวิชา โดยจำแนกเป็นระดับปริญญาตรี 113 สาขาวิชา, หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิต 24 สาขาวิชา หลักสูตรระดับปริญญาโท 231 สาขาวิชา หลักสูตรระดับประกาศนียบัตรบัณฑิตชั้นสูง 58 สาขาวิชา และหลักสูตรระดับปริญญาเอก 114 สาขาวิชา นอกจากนี้ยังได้เปิดทำการเรียนการสอนในหลักสูตรนานาชาติและหลักสูตรภาษาอังกฤษ อีก 85 สาขาวิชา ปัจจุบันประกอบด้วยส่วนงานทางวิชาการที่จัดการเรียนการสอน ได้แก่
นอกจากนี้ ยังมีส่วนงานที่จัดการเรียนการสอนและงานวิจัยเฉพาะในระดับบัณฑิตศึกษา ได้แก่
รวมทั้ง มีสถาบันสมทบอีก 2 แห่ง ได้แก่
Soucre : wikipedia.org
จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกโดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส ประจำปี พ.ศ. 2554 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 171 ของโลก ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่า สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 69 สาขาวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในอันดับที่ 101 สาขาเวชชีวศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 78 สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อยู่ในอันดับที่ 138 และสาขาสังคมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 68 โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยทั้งในการจัดอันดับแบบภาพรวมและในการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 4 สาขา จากที่จัดอันดับทั้งหมด 5 สาขา
นอกจากนี้ ยังมีการจัดอันดับมหาวิทยาลัยในทวีปเอเชียประจำปี พ.ศ. 2553 โดยแควกเควเรลลี ไซมอนด์ส พบว่า จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้รับการจัดอันดับในภาพรวมอยู่ในอันดับที่ 44 ของเอเชีย ส่วนการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชา 5 สาขา พบว่า สาขาศิลปศาสตร์และมนุษยศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 7 สาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพและชีวการแพทย์ อยู่ในอันดับที่ 10 สาขาวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ อยู่ในอันดับที่ 27 สาขาสังคมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 9 และสาขาเทคโนโลยีสารสนเทศและวิศวกรรมศาสตร์ อยู่ในอันดับที่ 31 โดยเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ของประเทศไทยในการจัดอันดับแบบแยกเป็นสาขาวิชาทั้ง 5 สาขา
ชีวิตในมหาวิทยาลัย การเรียนในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยจะใช้เวลาใกล้เคียงกับการเรียนในมหาวิทยาลัยอื่น โดยทั่วไปจะใช้เวลา 4 ปีในการเรียน แต่สำหรับคณะครุศาสตร์และคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ ใช้เวลา 5 ปี ในขณะที่ คณะแพทยศาสตร์ คณะทันตแพทยศาสตร์ คณะเภสัชศาสตร์ และคณะสัตวแพทยศาสตร์จะใช้เวลา 6 ปี ตลอดระยะเวลาการเรียน มีทั้งการเรียนในคณะของตนเอง และการเรียนวิชานอกคณะได้ พบปะกับบุคคลในคณะอื่น นอกจากนี้ ยังมีการร่วมกิจกรรมในมหาวิทยาลัยหลายอย่าง ไม่ว่าการเข้าชมรมของมหาวิทยาลัย การเข้าชมรมของคณะ การเล่นกีฬา หรือการพบปะกับเพื่อนหรือรุ่นพี่ที่มาจากโรงเรียนเดียวกันที่โต๊ะโรงเรียน
การพักอาศัยของนิสิตจุฬาฯ การพักอาศัยของนิสิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยพัก มีลักษณะคล้ายกับนิสิตนักศึกษาอื่นในกรุงเทพฯ โดยคนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพหรือเขตปริมณฑล หรือมีญาติพี่น้องอยู่แถบนั้น ก็จะพักอาศัยตามบ้านหรือบ้านคนรู้จัก สำหรับนิสิตที่มาจากต่างจังหวัดจะพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัย ไม่ก็เช่าหอพักเอกชนร่วมกับเพื่อนนอกมหาวิทยาลัย
การพักอาศัยในหอพักมหาวิทยาลัยนั้น จำเป็นต้องมีการสมัครล่วงหน้าและมีการตรวจสอบประวัติ เนื่องจากหอพักมีจำนวนจำกัดและราคาที่ถูกกว่าหอพักภายนอก ซึ่งหอพักมหาวิทยาลัยนี้เรียกกันว่า "ซีมะโด่ง" โดยหอจะแบ่งออกเป็น หอพักหญิง 3 หอ ได้แก่ หอพุดตาน (หอสูงสีน้ำตาล 14 ชั้น) หอพุดซ้อน (หอสูงสีขาวที่ปรับปรุงเสร็จล่าสุด) หอชวนชม (อาคาร 3 ชั้นสีเขียว อยู่ใกล้ประตูทางเข้าหอพักที่สุด) และ หอพักชาย 2 หอ ได้แก่ หอจำปี (อาคารสูงสีขาว 14 ชั้น) และหอพักจำปา (อยู่ถัดจากหอจำปี สูง 5 ชั้น เดิมเป็นหอพักหญิงชื่อ หอเฟื่องฟ้า แต่ถ้าย้อนไปในอดีตตั้งแต่ต้น หอนี้เคยเป็นหอชายก่อนหน้าที่จะมาเป็นหอหญิง) นอกจากนี้ ยังมีหอพักพวงชมพู หรือเรียกอีกอย่างหนึ่ง คือ หอ U-center ตั้งอยู่บริเวณหลังสามย่าน สร้างเสร็จในปี 2546
Soucre : wikipedia.org ชมรม การเข้าร่วมกิจกรรมชมรมในจุฬาลงกรณ์ไม่มีการจำกัดชั้นปี โดยชมรมของมหาวิทยาลัยนั้นเปิดให้นิสิตในแต่ละคณะรวมกัน และเจอกับนิสิตคณะอื่น พบปะสังสรรค์และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น และมีชมรมที่จัดขึ้นเฉพาะคณะต่าง ๆ โดยมีศูนย์กลางอยู่ที่ตึกจุลจักรพงษ์ โดยชมรมต่าง ๆ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม ได้แก่
บุคคลสำคัญจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บุคคลที่เกี่ยวข้องกับจุฬาลงกรณ์รวมถึงคณาจารย์และศิษย์เก่ามีหลากหลาย ซึ่งรวมถึงบุคคลสำคัญในด้านการเมืองการปกครองไม่ว่าจะเป็นรองนายกรัฐมนตรี, รัฐมนตรีประจำกระทรวงต่างๆ, ปลัดกระทรวง และข้าราชการระดับสูง และรวมถึงพระบรมวงศานุวงศ์ เช่น สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
นอกจากนี้ ยังมีผู้ได้รับรางวัลแมกไซไซ 3 คน นักเขียนผู้ได้รับรางวัลซีไรต์ 3 คน
นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ (2528-2548) อีก 48 คน นักวิทยาศาสตร์ดีเด่น 11 คน (2525-2549) ศิลปินแห่งชาติ 13 คน (2528-2549)
ศิษย์เก่าได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 3 คน (เรียนหลักสูตรประกาศนียบัตร 1 คน ปริญญาตรี 2 คน)
บุคลากรได้รับรางวัลแพทย์ดีเด่นของแพทยสภาแห่งประเทศไทย 1 คน และรางวัลพยาบาลดีเด่นของพยาบาลสภาแห่งประเทศไทย 1 คน รวมถึงเจ้าของธุรกิจขนาดใหญ่ นักแสดง นักดนตรีของประเทศไทยอีกหลายคน
แหล่งที่มา : http://th.wikipedia.org
-----------------------------------------------------------------------------------------------------.
........................................................................................................................................................................................................... |